ด้วยบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์แบบเงินสด ท่านสามารถเข้าถึงข้อมูลอันมีค่าอันเป็นผลมาจากการวิจัยอย่างพิถีพิถัน พร้อมเจ้าหน้าที่การตลาดที่พรั่งพร้อมไปด้วยประสบการณ์ ที่ยินดีนำเสนอท่านด้วยบริการที่มีคุณภาพเพื่อการตอบสนองการลงทุน
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอเอกสารการเปิดบัญชีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ โทร. 0-2657-7171
สิ่งที่ควรรู้
|
หลังจากที่บริษัทฯ ได้อนุมัติการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของท่านแล้ว บริษัทฯ จะจัดส่งจดหมายต้อนรับสู่บริการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ไปยังท่านโดยทางไปรษณีย์
โดยจะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีของท่าน ดังนี้ เลขที่บัญชี รายชื่อเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลบัญชี หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ เป็นต้น
ถึงตอนนี้ท่านก็พร้อมที่จะเป็นผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์ฯ
- ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการ วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดราชการและนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 17.30 น.
- ตลาดหลักทรัพย์จะเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์วันละ 2 ช่วงเวลา โดยรอบแรกตั้งแต่เวลา 10.00 น. จนปิดตลาดภาคเช้า 12.30 น. และช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 14.30 น. จนถึงเวลา 16.30 น.
Pre-open ช่วงเช้า | 09.30-10.00 น. |
การซื้อขายช่วงเช้า |
10.00-12.30 น. |
Pre-open ช่วงบ่าย | 14.00-14.30 น. |
การซื้อขายช่วงบ่าย | 14.30-16.30 น. |
- วิธีการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับบัญชีเงินสด สามารถกระทำได้โดยสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ได้ด้วยตัวเองที่ห้องค้าหลักทรัพย์ หรือสั่งทางโทรศัพท์ โดยติดต่อเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลบัญชีท่าน
หากท่านมีข้อสงสัยประการใดเกี่ยวกับบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของท่าน ข้อซักถามหรือแนะนำบริการอื่นๆ เป็นต้น
ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2657-7171 โทรสาร 0-2657-7177 หรืออผ่านอีเมล์ clientservices@th.dbsvickers.com
ในกรณีที่ท่านมีคำถามหรือประเด็นสงสัยที่เกี่ยวกับมาตรฐานของการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ท่านสามารถติดต่อได้ที่ฝ่ายกำกับและตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ 0-2657-7950 โทรสาร 0-2658-1259
|
|
|
- สำหรับท่านที่มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ประเภท Cash Balance ท่านสามารถทำการฝากเงินมายังบริษัทได้โดยโอนเงินมายังบริษัทฯ ภายใต้บัญชีชื่อ
"บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อลูกค้า" ทั้งนี้ ท่านสามารถเลือกทำรายการผ่านธนาคารใดธนาคารหนึ่งตามรายละเอียดดังนี้
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) |
ราชเทวี |
123-4-01780-2 |
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) |
สยามสแควร์ |
038-2-68705-7 |
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ (ไทย) จำกัด |
สาทร |
000-2-33582-7 |
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) |
สยามสแควร์ |
026-2-58641-3 |
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) |
พญาไท |
003-2-80367-8 |
- สำหรับชาวต่างชาติ ท่านสามารถโอนเงินมายังธนาคารใดธนาคารหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจากการโอนเงินจะถูกหักออกจากยอดเงินโอนโดยธนาคารพาณิชย์ไทย
- หลังจากทำการฝากเงิน หรือโอนเงินผ่านธนาคารดังกล่าวข้างต้นแล้ว ให้ท่านโทรแจ้งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ หรือแฟกซ์ใบนำฝากเงิน (Pay-in ship) พร้อมทั้งระบุรายละเอียดเช่น หมายเลขบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ชื่อ นามสกุล และส่งมายังฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2657-7542 โทรสาร 0-2657-7570
- การนำฝากด้วยเงินสด เงินโอนผ่านธนาคาร วงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ของท่านจะเพิ่มขึ้นในวันทำการ ถัดจากวันที่บริษัทฯ ได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว
สำหรับกรณีที่ฝากด้วยเช็ค วงเงินซื้อขายหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้นในวันทำการถัดไป หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับการยืนยันจากธนาคารว่าเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้ว
- หลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว บริษัทฯ จะจัดส่ง "ใบการรับฝากเงิน (Cash Deposit Form)" มายังท่านทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ซึ่งท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ
|
|
- กรณีที่ท่านต้องการฝากหลักทรัพย์ซึ่งเป็นใบหลักทรัพย์ (Share Certificate) กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ โทร 0-2657-7558 ถึง 7560
- กรณีที่ท่านต้องการฝากหลักทรัพย์ในระบบไร้ใบหุ้น (Scripless) กรุณาแจ้งให้โบรกเกอร์ที่ดูแลหลักทรัพย์ของท่านให้ทำรายการโอนหลักทรัพย์ดังกล่าวมายังบริษัทฯ ภายใต้บัญชี บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด สมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์ หมายเลข 004 และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ทราบ เพื่อยืนยันการรับฝากหลักทรัพย์ตามหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวข้างต้น
- หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับการยืนยันการโอนหลักทรัพย์เสร็จเรียบร้อยแล้ว รายการหลักทรัพย์ที่โอนมาจะมียอดปรากฎ
ในบัญชีของท่านในวันทำการถัดไป
- หลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว บริษัทฯ จะจัดส่งสำเนาเอกสารใบรับฝากหลักทรัพย์ (Securities Deposit Form) มายังท่านทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ซึ่งท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ
|
|
|
กรณีที่ท่านมีความประสงค์จะถอนหรือโอนหลักทรัพย์ สามารถแจ้งความประสงค์มายังบริษัทฯ ดังนี้
- ติตต่อของรับแนบฟอร์มใบคำขอเบิก/โอนหลักทรัพย์ (Request for securities withdrawal/Transfer) จากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการหลักทรัพย์ หรือสามารถดาวน์โหลด (Download) และพิมพ์ใบคำขอเบิก / โอนหลักทรัพย์ (Request for Securities Withdrawal / Transfer)
- กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มดังกล่าวข้างต้นให้ครบถ้วน และลงลายมือชื่อ (โปรดลงลายมือชื่อให้เหมือนกับที่ให้ไว้กับบริษัทฯ)
- ส่งแบบฟอร์มให้บริษัทฯ ด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ข้างล่างนี้
ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์
ที่อยู่ |
บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 1
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 |
 |
 |
 |
|
โทร |
(66) 2657-7542 to 50
|
แฟกซ์ |
(66) 2657-7570
|
อีเมล์ |
clientservices@th.dbsvickers.com
|
- กรณีที่ท่านต้องการใบหลักทรัพย์ หรือใบหุ้น (Share Certificate) กรุณาแนบเอกสารดังต่อไปนี้มาพร้อมกับใบคำขอเบิก / โอนหลักทรัพย์ (Request for Securities Withdrawal / Transfer)
- แบบคำขอให้ออกใบหลักทรัพย์ (แบบฟอร์มจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ท่านสามารถขอแบบฟอร์มนี้ได้จากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการหลักทรัพย์)
- สำเนาบัตรประชน หรือพาสปอร์ต พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- ค่าธรรมเนียมการเบิกหลักทรัพย์
- บริษัทฯ จะดำเนินการโอนหลักทรัพย์ตามคำสั่งของท่าน เมื่อหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ชำระราคาเรียบร้อย และปลอดภาระผูกพันแล้วเท่านั้น
- กรณีที่ท่านมีความประสงค์จะโอนหลักทรัพย์ไปยังโบรกเกอร์อื่นๆ บริษัทฯ จะคิดค่าธรรมเนียมในการโอนรายการหลักทรัพย์ละ 80 บาท
ท่านสามารถชำระค่าบริการได้ที่ทำการบริษัทฯ หรือที่สำนักงาน สาขา หรือให้บริษัทฯ หักชำระจากบัญชี Cash Balance ของท่าน(ถ้ามี)
ทั้งนี้บริษัทฯ จะดำเนินการโอนเมื่อบริษัทฯ ได้รับชำระเงินค่าบริการครบถ้วนแล้ว
- หลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว บริษัทฯ จะจัดส่งสำเนาเอกสารการถอน หรือโอนหลักทรัพย์ (Securities Delivery Form) มายังท่านทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ซึ่งท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ
|
|
ตามกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการถือครองหลักทรัพย์สามัญของนักลงทุนต่างด้าว กำหนดให้นักลงทุนต่างด้าว
หรือชาวต่างชาติถือหุ้นสามัญทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ยกเว้นในหมวดอุตสาหกรรมธนาคาร และบริษัทเงินทุนซึ่งยินยอมให้นักลงทุนต่างด้าวถือหุ้นสามัญทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
เพื่อให้เป็นการแน่ใจว่าท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ในการลงทุนในหลักทรัพย์ ท่านควรถือหุ้นในสถานะที่เหมาะสม ได้แก่
นักลงทุนชาวไทยควรลงทุนในหลักทรัพย์ไทย นักลงทุนชาวต่างชาติควรลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถานะเป็นต่างด้าว (Foreign) หรือหุ้นเอ็นวีดีอาร์ (NVDR)
ชาวต่างชาติที่ซื้อหลักทรัพย์ในกระดานหลัก จะได้รับหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ไทย (local shares) ทั้งนี้ ท่านจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ในทางการเงิน
ได้แก่ เงินปันผล ดอกเบี้ย สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เป็นต้น บริษัทฯ ขอแนะนำให้ท่านทำการเปลี่ยนสถานะหลักทรัพย์นั้นจากหลักทรัพย์ไทย (Local shares)
เป็นหลักทรัพย์ต่างด้าว (Foreign shares) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การเปลี่ยนสถานะจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อสัดส่วนการถือครอง (Foreign Limit) ที่บริษัทจดทะเบียนอนุญาตให้นักลงทุนต่างด้าวถือได้ยังคงเหลืออยู่ หากสัดส่วนดังกล่าวเต็ม นักลงทุนต่างด้าวต้องเข้าชื่อเป็นผู้ถือหลักทรัพย์เพื่อเข้ารอลำดับ (Queuing) จนกว่ามีสัดส่วนการถือครองว่าง
สำหรับลูกค้าของบริษัทฯ ที่มีความประสงค์จะขายหลักทรัพย์ต่างด้าว (Foreign Shares) บนกระดานหลัก (Main Board) กรุณาแจ้งให้บริษัทฯ
ดำเนินการเปลี่ยนสถานะหลักทรัพย์ก่อนทำการขายหลักทรัพย์นั้นๆ
ขั้นตอนการเปลี่ยนสถานะหลักทรัพย์ มีดังนี้:-
- ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ โทร. 0-2657-7556 เพื่อตรวจสอบสัดส่วนการถือครอง (Foreign Limit)
- ติดต่อขอรับแบบฟอร์มจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการหลักทรัพย์ หรือดาวน์โหลด (Download) และพิมพ์ใบแจ้งการโอนหลักทรัพย์ต่างกระดาน (Request for Securities Status Conversion)
- กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มดังกล่าวข้างต้นให้ครบถ้วน และลงนาม
- โปรดแนบเอกสารประกอบ คือ สำเนาบัตรประชาชน หรือพาสปอร์ต (สำหรับชาวต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และส่งเอกสารทั้งหมดมายัง
ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์
ที่อยู่ |
บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 1
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 |
 |
 |
 |
|
โทร |
(66) 2657-7542 to 50
|
แฟกซ์ |
(66) 2657-7570
|
อีเมล์ |
clientservices@th.dbsvickers.com
|
|
|
|
เอ็นวีดีอาร์ คืออะไร
เอ็นวีดีอาร์ (NVDR) หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทย่อยที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้น
ซึ่งคือ บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด (Thai NVDR Company Limited) โดยมีลักษณะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนอัตโนมัติ (Automatic List) วัตถุประสงค์หลักของ
เอ็นวีดีอาร์ คือ เพื่อกระตุ้นการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนได้โดยไม่ต้องติดเรื่องเพดานการถือครองหลักทรัพย์ของชาวต่างชาติ
(Foreign Limit) พร้อมทั้งสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เช่น เงินปันผล และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียน
นอกจากนี้เอ็นวีดีอาร์ยังช่วยขจัดปัญหาของผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศบางประเทศที่ไม่สามารถลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (Thai Trust Fund : TTF) ได้ แต่ทั้งนี้ ผู้ถือเอ็นวีดีอาร์จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทจดทะเบียน (Non-Voting Rights)
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเอ็นวีดีอาร์จะออกมาเพื่อส่งเสริมการลงทุนของผู้ลงทุนชาวต่างประเทศ แต่ก็อนุญาตให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในเอ็นวีดีอาร์ได้
การซื้อขายเอ็นวีดีอาร์ (NVDR Trading Guidelines)
การซื้อขายเอ็นวีดีอาร์เป็นลักษณะเดียวกับการซื้อขายหุ้นทั่วไป เพียงแต่ในการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ นักลงทุนต้องระบุในคำสั่งซื้อหรือขายว่าเป็นการซื้อหรือขายเอ็นวีดีอาร์
|
|
|
สัดส่วนการถือครองหลักทรัพย์ต่างด้าว (Stock Holding)
ตามกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการถือครองหลักทรัพย์สามัญของนักลงทุนต่างด้าว กำหนดให้นักลงทุนต่างด้าว
หรือชาวต่างชาติถือหุ้นสามัญทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ยกเว้นในหมวดอุตสาหกรรมธนาคาร และบริษัทเงินทุนซึ่งยินยอมให้นักลงทุนต่างด้าวถือหุ้นสามัญทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด
เพื่อให้เป็นการแน่ใจว่าท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ในการลงทุนในหลักทรัพย์ ท่านควรถือหลักทรัพย์ในสถานะที่เหมาะสม ได้แก่
นักลงทุนชาวไทย ควรลงทุนในหลักทรัพย์ไทย นักลงทุนชาวต่างชาติ ควรลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถานะเป็นต่างด้าว (Foreign) หรือหุ้นเอ็นวีดีอาร์ (NVDR)
นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถานะต่างด้าว (Foreign) จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิเช่น เงินปันผล สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน
การเข้าประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ เป็นต้น แต่ถ้านักลงทุนต่างชาติลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถานะเป็น เอ็นวีดีอาร์ (NVDR) จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เช่น เงินปันผล
และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน แต่จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทจดทะเบียน (Non-Voting Rights) โปรดคลิกที่นี่ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของเอ็นวีดีอาร์
(NVDR)
สิทธิประโยชน์ (Investors Benefits)
-
หุ้นเพิ่มทุน (Right Issue)
หลังจากปิดสมุดจดทะเบียน นายทะเบียนหลักทรัพย์จะรวบรวมรายชื่อผู้ถือหลักทรัพย์ทั้งหมดเพื่อคำนวณและจัดสรรสิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิเช่น เงินปันผล สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน
การเข้าประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ เป็นต้น บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะจัดส่งใบจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนไปยังผู้ถือหลักทรัพย์โดยตรง โดยจะส่งมายังที่อยู่ที่ท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ เมื่อเปิดบัญชี หากท่านมีความประสงค์จะจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ ก็สามารถจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้โดยผ่านบริษัทฯ หรือจองโดยตรงกับบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ
- เงินปันผล (Dividend)
เมื่อปิดสมุดจดทะเบียนแล้ว บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะดำเนินการนำส่งเช็คเงินปันผล พร้อมทั้งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ
ที่จ่าย ส่งให้กับผู้ถือหลักทรัพย์ตามที่อยู่ที่แจ้งกับบริษัทฯ ทางไปรษณีย์ กรณีที่คุณได้รับเงินปันผลจากบริษัทจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
คุณจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10%
|
|
|
เมื่อท่านได้รับการยืนยันผลการซื้อขาย ท่านจะต้องชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ หรือรับเงินค่าขายหลักทรัพย์ ณ วัน ทำการที่ 3 หลังจากเกิดรายการซื้อขายหลักทรัพย์ (T+3 โดย T=วันที่เกิดรายการซื้อขาย)
สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีประเภท Cash Balance หรือชำระเงินผ่านระบบตัดชำระเงินอัตโนมัติ (ATS) เงินค่าซื้อหลักทรัพย์จะถูกหักจากบัญชีของท่านโดยอัตโนมัติ สำหรับค่าขายบริษัทฯ
จะนำฝากเข้าบัญชีของท่านโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกันในวันทำการที่ 3 หลังจากเกิดรายการซื้อขายหลักทรัพย์ (T+3)
บริษัทฯ จะจัดส่งใบยืนยันการซื้อขายหลักทรัพย์/ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี (Confirmation/Settlement Vouchor/Receipt/Tax Invoice) ไปยังท่านในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันซื้อขายหลักทรัพย์ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ซึ่งท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ
|
|
|
|
|
บริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้า ในอัตราร้อยละ 0.25 ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ และอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.21
สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านออนไลน์ หรืออินเทอร์เน็ต และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตราร้อยละ 7 ของค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์
บริษัทฯ จะจัดเก็บอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับบัญชีเงินสด ดังนี้
ใช้บริการพนักงานรับส่งเอกสาร (Messenger) |
200 บาท |
ชำระเงินโดยวิธีโอนเงิน และรับเอกสารที่บริษัท |
100 บาท |
ชำระเงินผ่านระบบตัดเงินอัตโนมัติ (ATS) และเอกสารทุกอย่างจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ |
50 บาท |
หมายเหตุ อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ และอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตามแต่บริษัทฯ จะเห็นสมควร
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
การเบิกใบหลักทรัพย์ |
80 บาท ต่อหลักทรัพย์ |
รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว |
การโอนหลักทรัพย์ผ่านศูนย์รับฝาก |
80 บาท ต่อรายการ |
รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว |
การชำระเงินค่าซื้อหลักทรัพย์ล่าช้า
ค่าปรับตามตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด
ค่าปรับดอกเบี้ยล่าช้า |
500 บาท ต่อวัน ต่อรายการ
1,000 บาท ต่อวัน ต่อรายการ
12% ต่อปี |
สำหรับล่าช้า 1 2 วันทำการ
สำหรับล่าช้าตั้งแต่ 3 วันทำการขึ้นไป |
การส่งมอบหลักทรัพย์ล่าช้า
ค่าปรับตามตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด
ค่าปรับตามศูนย์รับฝากหลักทรัพย์กำหนด
ค่าปรับอัตราดอกเบี้ย |
500 บาท ต่อวัน ต่อรายการ
1,000 บาท ต่อวัน ต่อรายการ
อัตราร้อยละของมูลค่าหลักทรัพย์
ที่ผิดนัด
ผิดนัด 1 วันทำการ : 0.50% ผิดนัด 2 วันทำการ : 0.75% ผิดนัด 3 วันทำการ : 1.00 % ผิดนัดมากกว่า 3 วันทำการขึ้นไป :
1.75 3.75%
12% ต่อปี |
สำหรับล่าช้า 1 2 วันทำการ
สำหรับล่าช้าตั้งแต่ 3 วันทำการขึ้นไป |
หมายเหตุ บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวข้างต้น
|
|
|
|
|
ภาษีอากรสำหรับผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดา
-
เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์
ผู้ลงทุนไทย และต่างชาติ จะได้รับการยกเว้นภาษี เว้นแต่เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้ พันธบัตร ซึ่งจะถูกหักภาษี ณ
ที่จ่ายร้อยละ 15 โดยมีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้
-
เงินปันผล
กรณีที่ท่านได้รับเงินปันผลจากบริษัทจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ท่านจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 10 โดยมีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้
สำหรับชาวต่างชาติกำหนดให้นำไปรวมคำนวณภาษีปลายปี
- ดอกเบี้ย
สำหรับจำนวนเงินที่ท่านฝากไว้กับบริษัทฯ เพื่อเป็นวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์นั้น บริษัทฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้ท่าน ตามอัตราที่ประกาศให้ทราบ
แต่ทั้งนี้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 และมีสิทธิเลือกที่จะนำดอกเบี้ยมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปีหรือไม่ก็ได้
- สำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติ โปรดตรวจสอบเงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนของประเทศนั้นๆ
|
|
|
|
|
|
|
|