Retail Trading  
 

การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (Trading Instructions)
การฝากเงิน (Cash Deposit)
การถอนเงิน (Cash Withdrawal)
การฝากหลักทรัพย์ (Securities Deposit)
การถอนหลักทรัพย์ (Securities Withdrawal)
การแปลงสภาพหลักทรัพย์ (Securities Conversion)
เอ็นวีดีอาร์ (NVDR Trade)
สิทธิประโยชน์ (Investor Relations Information)
การชำระราคาค่าซื้อขายหลักทรัพย์ (Settlement)
ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (Commission)
ภาษีอากร (Taxes)

การส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ (Trading Instructions)

    หลังจากที่บริษัทฯ ได้อนุมัติการเปิดบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของท่านแล้ว บริษัทฯ จะจัดส่งจดหมายแจ้งถึงการเปิดบัญชีไปยังท่าน โดยทางไปรษณีย์ โดยจะแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีของท่าน ได้แก่ เลขที่บัญชี รายชื่อเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลบัญชีของท่าน หมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ เป็นต้น ถึงตอนนี้ท่านก็พร้อมที่จะเป็น ผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แล้ว

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับตลาดหลักทรัพย์

 

ตลาดหลักทรัพย์เปิดทำการ วันจันทร์ ถึงวันศุกร์ ยกเว้นวันหยุดธนาคาร

 

ตลาดหลักทรัพย์จะเปิดทำการซื้อขายหลักทรัพย์วันละ 2 ช่วงเวลา โดยรอบแรกตั้งแต่เวลา 10.00 น. จนปิดตลาดภาคเช้า 12.30 น. และช่วงบ่ายตั้งแต่เวลา 14.30 น. จนถึงเวลา 16.30 น.

 

วิธีการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์สำหรับบัญชีเงินสด สามารถกระทำได้โดยสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ได้ด้วย ตัวเองที่ห้องค้าหลักทรัพย์ หรือสั่งทางโทรศัพท์

หากท่านมีข้อสังสัยประการใดเกี่ยวกับบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ประเภทเงินสดของท่าน   ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่การตลาดที่ดูแลบัญชีของท่าน

หากท่านมีข้อซักถามเกี่ยวกับบริษัทฯ แนะนำบริการอื่นๆ เป็นต้น ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2657-7171 โทรสาร 0-2657-7177 หรือผ่านอีเมล์ clientservices@th.dbsvickers.com

ในกรณีที่ท่านมีคำถาม หรือประเด็นสงสัยที่เกี่ยวกับมาตรฐานของการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ ท่านสามารถ ติดต่อได้ที่ฝ่ายกำกับและตรวจสอบ หมายเลขโทรศัพท์ 0-2657-7950 โทรสาร 0-2658-1259

กลับไปด้านบน

การฝากเงิน (Cash Deposit)

1.

สำหรับท่านที่มีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ ประเภท Cash Balance ท่านสามารถทำการฝากเงินมายังบริษัทได้โดยโอนเงินมายังบริษัทฯ ภายใต้บัญชีชื่อ บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เพื่อลูกค้า ทั้งนี้ ท่านสามารถเลือกทำรายการผ่านธนาคาร 5 ธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ ตามรายละเอียดดังนี้


ธนาคาร
สาขา
เลขที่บัญชี
ธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน)
สำนักสีลม
001-3-041048-3
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)
พญาไท
003-2-80367-8
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สยามสแควร์
038-2-68705-7
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
สยามสแควร์
026-2-58641-3
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
ราชเทวี
123-4-01780-2
ธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์ตเตอร์ นครธน
สำนักงานใหญ่
000-2-33582-7

2.

สำหรับชาวต่างชาติ ท่านสามารถโอนเงินมายังธนาคารใดธนาคารหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นจากการโอนเงินจะถูกหักออกจากยอดเงินโอนโดยธนาคารพาณิชย์ไทย


3.

หลังจากทำการฝากเงิน หรือโอนเงินผ่านธนาคารดังกล่าวข้างต้นแล้ว ของให้ท่านแจ้ง และแฟกซ์ใบ นำฝากเงิน พร้อมทั้งระบุรายละเอียดเลขที่บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของท่าน มายังฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2657-7542โทรสาร 0-2657-7570


4.

การนำฝากเงินด้วยเงินสด เงินโอนผ่านธนาคาร วงเงินซื้อขายหลักทรัพย์ของท่านจะเพิ่มขึ้นในวันทำการถัดจากวันที่บริษัทฯ ได้รับเงินเรียบร้อยแล้ว สำหรับกรณีที่ฝากด้วยเช็ค วงเงินซื้อขายหลักทรัพย์จะเพิ่มขึ้นในวันทำการถัดไป หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับการยืนยันจากธนาคารว่าเรียกเก็บเงินตามเช็คได้แล้ว


5.

บริษัทฯ จะจัดส่งใบยืนยันการรับฝากเงิน (Cash Guarantee Deposit Form) ไปยังท่านทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ซึ่งท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ

กลับไปด้านบน

การถอนเงิน (Cash Withdrawal)

1.

หากท่านมีความประสงค์จะถอนเงิน กรุณาแจ้งความประสงค์มายังบริษัทฯ ล่วงหน้า 1 วันทำการ โดย ดาวน์โหลด (download) และพิมพ์ ใบคำขอถอนเงิน (Cash Withdrawal Form)


2.

โปรดกรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มดังกล่าวข้างต้นให้ครบถ้วน ลงลายมือชื่อ (โปรดลงลายมือชื่อให้ เหมือนกับที่ให้ไว้กับบริษัทฯ)


3.

ส่งแบบฟอร์มมายัง:-

 
ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 1
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2657-7542 ถึง 50 โทรสาร 0-2657-7570

4.

ในการนำเงินเข้าฝากบัญชีธนาคารตามคำสั่งของท่าน หากมีค่าธรรมเนียมในการโอนเงินเกิดขึ้น ค่า ธรรมเนียมดังกล่าวจะถูกหักจากยอดเงินถอนของท่าน


5.

บริษัทฯ จะจัดส่งใบยืนยันการถอนเงิน (Cash Guarantee Withdrawal Form) ไปยังท่านทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ซึ่งท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ

กลับไปด้านบน

การฝากหลักทรัพย์ (Securities Deposit)

1.

กรณีที่ท่านต้องการฝากหลักทรัพย์ซึ่งเป็นใบหลักทรัพย์ (Share Certificate) กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ โทร 0-2657-7558 ถึง 7560


2.

กรณีที่ท่านต้องการฝากหลักทรัพย์ในระบบไร้ใบหุ้น (Scripless) กรุณาแจ้งให้โบรกเกอร์ที่ดูแลหลักทรัพย์ของท่านให้ทำรายการโอนหลักทรัพย์ดังกล่าวมายังบริษัทฯ ภายใต้บัญชี "บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด สมาชิกผู้ฝากหลักทรัพย์ หมายเลข 004" และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ของบริษัทฯ รับทราบ ตามหมายเลขโทรศัพท์ดังกล่าวข้างต้น


3.

หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับการยืนยันการโอนหลักทรัพย์แล้ว รายการหลักทรัพย์ที่โอนมาจะมียอดปรากฎในบัญชีของท่านในวันทำการถัดไป


4.

บริษัทฯ จะจัดส่งสำเนาเอกสารใบนำฝากหลักทรัพย์ (Securities Deposit Form) ไปยังท่านทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ซึ่งท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ

กลับไปด้านบน

การถอนหลักทรัพย์ (Securities Withdrawal)

กรณีที่ท่านมีความประสงค์จะถอนหรือโอนหลักทรัพย์ สามารถแจ้งความประสงค์มายังบริษัทฯ ดังนี้

1.

ดาวน์โหลด (Download) และพิมพ์ ใบคำขอเบิก / โอนหลักทรัพย์ (Request for Securities Withdrawal / Transfer)


2.

กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มดังกล่าวข้างต้นให้ครบถ้วน และลงลายมือชื่อ (โปรดลงลายมือชื่อให้เหมือนกับที่ให้ไว้กับบริษัทฯ)


3.

ส่งแบบฟอร์มให้บริษัทฯ ด้วยตนเอง หรือทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ข้างล่างนี้

 
ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 1
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2657-7542 ถึง 50 โทรสาร 0-2657-7570

4.

กรณีที่ท่านต้องการใบหลักทรัพย์ หรือใบหุ้น (Share Certificate) กรุณาแนบเอกสารดังต่อไปนี้มาพร้อมกับใบคำขอเบิก / โอนหลักทรัพย์ (Request for Securities Withdrawal / Transfer)

      4.1 แบบคำขอให้ออกใบหลักทรัพย์ (แบบฟอร์มจากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ ท่านสามารถขอแบบฟอร์มนี้ได้จากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการหลักทรัพย์)
    4.2 สำเนาบัตรประชน หรือพาสปอร์ต พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

5.

บริษัทฯ จะดำเนินการโอนหลักทรัพย์ตามคำสั่งของท่าน เมื่อหลักทรัพย์ดังกล่าวได้ชำระราคาเรียบร้อย และปลอดภาระผูกพันแล้วเท่านั้น


6.

กรณีที่ท่านมีความประสงค์จะโอนหลักทรัพย์ไปยังโบรกเกอร์อื่นๆ บริษัทฯ จะคิดค่าธรรมเนียมในการโอนรายการหลักทรัพย์ละ 80 บาท ท่านสามารถชำระค่าบริการได้ที่ทำการของบริษัทฯ หรือที่สำนักงานสาขา หรือให้บริษัทฯ หักชำระจากบัญชี Cash Balance ของท่าน ทั้งนี้บริษัทฯ จะดำเนินการโอนเมื่อบริษัทฯ ได้รับชำระเงินค่าบริการครบถ้วนแล้ว


7.

บริษัทฯ จะจัดส่งสำเนาเอกสารการถอน หรือโอนหลักทรัพย์ (Securities Delivery Form) ไปยังท่านทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ซึ่งท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ

กลับไปด้านบน

การแปลงสภาพหลักทรัพย์ (Securities Conversion)

    ตามกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการถือครองหลักทรัพย์สามัญของนักลงทุนต่างด้าว กำหนดให้นักลงทุนต่างด้าว หรือชาวต่างชาติถือหุ้นสามัญทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ยกเว้นในหมวดอุตสาหกรรมธนาคารและบริษัทเงินทุนซึ่งยินยอมให้นักลงทุนต่างด้าวถือหุ้นสามัญทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้น ทั้งหมด

    เพื่อให้เป็นการแน่ใจว่าท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ในการลงทุนในหลักทรัพย์ ท่านควรถือหุ้นในสถานะที่เหมาะสม ได้แก่ นักลงทุนชาวไทย ควรลงทุนในหลักทรัพย์ไทย นักลงทุนชาวต่างชาติ ควรลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถานะเป็นต่างด้าว (Foreign) หรือหุ้นเอ็นวีดีอาร์ (NVDR)

    ชาวต่างชาติที่ซื้อหลักทรัพย์ในกระดานหลัก จะได้รับหลักทรัพย์ในบัญชีหลักทรัพย์ไทย (local shares) ทั้งนี้ ท่านจะไม่ได้สิทธิประโยชน์ในทางการเงิน ได้แก่ เงินปันผล ดอกเบี้ย สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน เป็นต้น บริษัทฯ ขอแนะนำให้ท่านทำการแปลงสภาพหลักทรัพย์นั้นจากหลักทรัพย์ไทย (local shares) เป็นหลักทรัพย์ต่างด้าว (Foreign shares) แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การแปลงสภาพจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อสัดส่วนการถือครอง (Foreign Limit) ที่บริษัทจดทะเบียนอนุญาตให้นักลงทุนต่างด้าวถือได้ยังคงเหลืออยู่ หากสัดส่วนดังกล่าวเต็ม นักลงทุนต่างด้าวต้องเข้าชื่อเป็นผู้ถือหลักทรัพย์เพื่อเข้ารอลำดับ (Queuing) จนกว่าจะมีสัดส่วนการถือครองว่าง

    สำหรับลูกค้าปัจจุบันของบริษัทฯ ที่มีความประสงค์จะขายหลักทรัพย์ต่างด้าว (Foreign Shares) บนกระดานหลัก (Main Board) กรุณาแจ้งให้บริษัทฯ ดำเนินการแปลงสภาพหลักทรัพย์ก่อนทำการขายหลักทรัพย์นั้นๆ

ขั้นตอนการแปลงสภาพหลักทรัพย์ มีดังนี้:-

1.

ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์ โทร. 0-2657-7557 หรือ 0-2657-7559 เพื่อตรวจสอบสัดส่วนการถือครอง (Foreign Limit)


2.

ดาวน์โหลด (Download) และพิมพ์ ใบแจ้งการโอนหลักทรัพย์ต่างกระดาน (Request for Securities Status Conversion) หรือติดต่อขอรับแบบฟอร์มจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการหลักทรัพย์


3.

กรอกรายละเอียดในแบบฟอร์มดังกล่าวข้างต้นให้ครบถ้วน และลงนาม


4.

โปรดแนบเอกสารประกอบ คือ สำเนาบัตรประชาชน หรือพาสปอร์ต (สำหรับชาวต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง และส่งเอกสารทั้งหมดมายัง

 
ฝ่ายปฏิบัติการหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
989 อาคารสยามทาวเวอร์ ชั้น 14 ถนนพระราม 1
ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0-2657-7542 ถึง 50 โทรสาร 0-2657-7570

กลับไปด้านบน

เอ็นวีดีอาร์ (NVDR Trade)

เอ็นวีดีอาร์ คืออะไร

    เอ็นวีดีอาร์ (NVDR) หรือใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย เป็นตราสารที่ออกโดยบริษัทย่อยที่ตลาดหลักทรัพย์จัดตั้งขึ้น ซึ่งคือ "บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด" (Thai NVDR Company Limited) โดยมีลักษณะเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนอัตโนมัติ (Automatic List) วัตถุประสงค์หลักของเอ็นวีดีอาร์ คือ เพื่อกระตุ้นการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนได้โดยไม่ต้องติดเรื่องเพดานการถือครองหลักทรัพย์ของชาวต่างชาติ (Foreign Limit) พร้อมทั้งสามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เช่น เงินปันผล และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน เช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียน นอกจานี้เอ็นวีดีอาร์ยังช่วยขจัดปัญหาของผู้ลงทุนสถาบันต่างประเทศบางประเทศที่ไม่สามารถลงทุนในหน่วยลงทุน ซึ่งรวมถึงหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อ ลงทุนซึ่งเป็นคนต่างด้าว (Thai Trust Fund : TTF) ได้ ทั้งนี้ ผู้ถือเอ็นวีดีอาร์จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทจดทะเบียน (Non-Voting Rights) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเอ็นวีดีอาร์จะออกมาเพื่อส่งเสริมการลงทุนของผู้ลงทุนชาวต่างประเทศ แต่ก็อนุญาตให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในเอ็นวีดีอาร์ได้

การซื้อขายเอ็นวีดีอาร์ (NVDR Trading Guidelines)

    การซื้อขายเอ็นวีดีอาร์เป็นลักษณะเดียวกับการซื้อขายหุ้นทั่วไป เพียงแต่ในการสั่งซื้อหรือขายหลักทรัพย์ นักลงทุนต้องระบุในคำสั่งซื้อหรือขายว่าเป็นการซื้อหรือขายเอ็นวีดีอาร์

กลับไปด้านบน

สิทธิประโยชน์ (Investor Relations Information)

สัดส่วนการถือครองหลักทรัพย์ต่างด้าว (Stock Holding)

    ตามกฎและข้อบังคับเกี่ยวกับการถือครองหลักทรัพย์สามัญของนักลงทุนต่างด้าว กำหนดให้นักลงทุนต่างด้าว หรือชาวต่างชาติถือหุ้นสามัญทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ยกเว้นในหมวดอุตสาหกรรมธนาคารและบริษัทเงินทุนซึ่งยินยอมให้นักลงทุนต่างด้าวถือหุ้นสามัญทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้น ทั้งหมด

    เพื่อให้เป็นการแน่ใจว่าท่านจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่างเต็มที่ในการลงทุนในหลักทรัพย์ ท่านควรถือหลักทรัพย์ในสถานะที่เหมาะสม ได้แก่ นักลงทุนชาวไทย ควรลงทุนในหลักทรัพย์ไทย นักลงทุนชาวต่างชาติ ควรลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถานะเป็นต่างด้าว (Foreign) หรือหุ้นเอ็นวีดีอาร์ (NVDR)

    นักลงทุนต่างชาติที่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีสถานะต่างด้าว (Foreign) จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิเช่น เงินปันผล สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน การเข้าประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ เป็นต้น แต่ถ้านักลงทุนต่างชาติลงทุนใน หลักทรัพย์ที่มีสถานะเป็น เอ็นวีดีอาร์ (NVDR) จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางการเงิน เช่น เงินปันผล และสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุน แต่จะไม่มีสิทธิในการออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทจดทะเบียน (Non-Voting Rights) โปรดคลิกที่นี่ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมของเอ็นวีดีอาร์ (NVDR)

สิทธิประโยชน์ (Investor's Benefits)

ก. หุ้นเพิ่มทุน (Right Issue)
    หลังจากปิดสมุดจดทะเบียน นายทะเบียนหลักทรัพย์จะรวบรวมรายชื่อผู้ถือหลักทรัพย์ทั้งหมดเพื่อคำนวณและจัดสรรสิทธิประโยชน์ต่างๆ อาทิเช่น เงินปันผล สิทธิจองซื้อหุ้นเพิ่มทุน การเข้าประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ เป็นต้น บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะจัดส่งใบจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนไปยังผู้ถือหลักทรัพย์โดยตรง โดยจะส่งไปยังที่อยู่ที่ท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ เมื่อเปิดบัญชี หากท่านมีความประสงค์จะจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนบริษัท จดทะเบียนนั้นๆ ก็สามารถจองซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้โดยผ่านบริษัทฯ หรือจองโดยตรงกับบริษัทจดทะเบียนนั้นๆ

ข. เงินปันผล (Dividend)
    เมื่อปิดสมุดจดทะเบียนแล้ว บริษัทศูนย์รับฝากหลักทรัพย์จะดำเนินการนำส่งเช็คเงินปันผล พร้อมทั้งหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ส่งให้กับผู้ถือหลักทรัพย์ตามที่อยู่ที่แจ้งกับบริษัทฯ ทางไปรษณีย์ กรณีที่คุณได้รับเงินปันผลจากบริษัทจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คุณจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 10%

กลับไปด้านบน

การชำระราคาค่าซื้อขายหลักทรัพย์ (Settlement)

    เมื่อท่านได้รับการยืนยันผลการซื้อขาย ท่านจะต้องชำระค่าซื้อหลักทรัพย์ หรือรับเงินค่าขายหลักทรัพย์ ณ วัน ทำการที่ 3 หลังจากเกิดรายการซื้อขายหลักทรัพย์ (T+3 โดย T = วันที่เกิดรายการซื้อขาย) สำหรับลูกค้าที่มีบัญชีประเภท Cash Balance หรือชำระเงินผ่านระบบตัดชำระเงินอัตโนมัติ (ATS) เงินค่าซื้อหลักทรัพย์จะถูกหักจากบัญชีของท่านโดยอัตโนมัติ สำหรับค่าขายบริษัทฯ จะนำฝากเข้าบัญชีของท่านโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกันใน วันทำการที่ 3 หลังจากเกิดรายการซื้อขายหลักทรัพย์ (T+3)

    บริษัทฯ จะจัดส่งใบ Confirmation และ ใบ Contact Note ไปยังท่านในวันรุ่งขึ้นหลังจากวันซื้อขายหลักทรัพย์ทางไปรษณีย์ตามที่อยู่ซึ่งท่านได้แจ้งไว้กับบริษัทฯ

กลับไปด้านบน

ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์ (Commission)

    บริษัทฯ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการซื้อขายหลักทรัพย์จากลูกค้า ในอัตราร้อยละ 0.25 ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ และอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ 0.20 สำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านออนไลน์ หรืออินเตอร์เน็ต และค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในอัตราร้อยละ 7 ของค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์

บริษัทฯ จะจัดเก็บอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำสำหรับบัญชีเงินสด ดังนี้

ลักษณะการใช้บริการ
อัตราค่าธรรมเนียม
ขั้นต่ำต่อวัน
ใช้บริการพนักงานรับส่งเอกสาร (Messenger)
200 บาท
ให้บริษัทฯ โอนเงินค่าขายหลักทรัพย์ไปยังธนาคารที่แจ้งความประสงค์
100 บาท
ชำระเงินผ่านระบบตัดเงินอัตโนมัติ (ATS) และเอกสารทุกอย่างจัดส่งให้ทางไปรษณีย์
50 บาท

หมายเหตุ อัตราค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ และอัตราค่าธรรมเนียมขั้นต่ำอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกฎตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตามแต่บริษัทฯ จะเห็นสมควร

กลับไปด้านบน

ภาษีอากร (Taxes)

ภาษีอากรสำหรับผู้ลงทุนประเภทบุคคลธรรมดา

 

เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์
ผู้ลงทุนไทย และต่างชาติ จะได้รับการยกเว้นภาษี เว้นแต่เงินกำไรจากการขายหลักทรัพย์ ประเภทหุ้นกู้ พันธบัตร ซึ่งจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายร้อยละ 15 โดยมีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้


 

เงินปันผล
กรณีที่ท่านได้รับเงินปันผลจากบริษัทจดทะเบียน บริษัทจำกัด หรือบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ท่านจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในอัตราร้อยละ 10 โดยมีสิทธิเลือกที่จะนำมารวมคำนวณภาษีปลายปีหรือไม่ก็ได้ สำหรับชาวต่างชาติกำหนดให้นำไปรวมคำนวณภาษีปลายปี


 

ดอกเบี้ย
สำหรับจำนวนเงินที่ท่านฝากไว้กับบริษัทฯ เพื่อเป็นวงเงินซื้อขายหลักทรัพย์นั้น บริษัทฯ จะจ่ายดอกเบี้ยให้ร้อยละ 1 ต่อปี แต่ทั้งนี้จะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 และมีสิทธิเลือกที่จะนำดอกเบี้ยมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ปลายปีหรือไม่ก็ได้


 

สำหรับนักลงทุนชาวต่างชาติ โปรดตรวจสอบเงื่อนไขการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนของประเทศนั้นๆ

กลับไปด้านบน