Golden-Abacus-with-Chinese-rmb-gold-coins-as-background/45.jpg


สวัสดีครับ พบกับ “Trading Idea” ที่จะเสนอไอเดีย ความรู้ให้กับนักลงทุนกันครับ วันนี้เรามาทำความรู้จักกับ Rebalancing กันดีกว่าครับ

Rebalancing เป็นกลยุทธ์การปรับปรุงพอร์ตการลงทุนตามสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์การเงิน ให้รักษาสัดส่วนตามเรานักลงทุนวางแผนไว้ โดยหลักการง่ายๆ ดังนี้ครับ

  1. จัดพอร์ตการลงทุน หรือ Asset Allocation เป็นการคัดเลือกหลักทรัพย์ทางการเงินต่างๆ และลงทุนตามสัดส่วนเงินลงทุนตามแผนที่วางไว้ถือเป็นกลยุทธ์หนึ่งเพื่อผสมผสานหลักทรัพย์ที่หลากหลาย เป็นประโยชน์ในการกระจายความเสี่ยงการลงทุน และเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เหมาะสม
  2. ลงทุนหลักทรัพย์ตามสัดส่วนเงินทุน พอร์ตการลงทุนจะมีหลักทรัพย์ต่างๆแบ่งตามสัดส่วนเงินลงทุน ยกตัวอย่างเช่น เราแบ่งเงินลงทุน 100% ลงทุนในหลักทรัพย์ ได้แก่ หุ้น : พันธบัตร : ทองคำ : เงินฝาก ในสัดส่วน 60 : 20 : 15 : 5 ตามลำดับ
  3. คงสัดส่วนเงินลงทุนในหลักทรัพย์ ขั้นตอนนี้เป็นการทำ rebalancing โดยจะปรับปรุงพอร์ตให้คงสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ตามที่เราได้ตั้งสัดส่วนไว้ในตอนแรก โดยหลักการปรับปรุงพอร์ตจะพิจารณาจากมูลค่าพอร์ตลงทุนรวมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นผลจากผลตอบแทนของแต่ละหลักทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไป
  4. ปรับปรุงพอร์ตตามมูลค่ารวมที่เปลี่ยนแปลง โดยเราจะนำสัดส่วนการลงทุนเดิมของแต่ละหลักทรัพย์คูณด้วยมูลค่าพอร์ตรวมปัจจุบันจะได้ผลลัพธ์เป็นมูลค่าของแต่ละหลักทรัพย์ตามลำดับ จากนั้นให้นำเงินที่ขายได้(มูลค่าหลักทรัพย์ที่เกินจากสัดส่วนเดิม) ไปซื้อ(มูลค่าหลักทรัพย์ที่ลดจากสัดส่วนเดิม)ให้กับตราสารการเงินอื่นๆเพื่อให้ได้สัดส่วนเดิมกลับมา

หวังว่าทุกท่านพอจะเข้าใจใน Rebalancing กันนะครับ แต่หากท่านใดยังสงสัย หรือไม่แน่ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ทางดีบีเอสเรามีบริการวางแผนจัดพอร์ตการลงทุนแบบมืออาชีพ ได้ง่ายๆ ด้วย wealthBOX สนใจสอบถามกันได้เลยนะครับ

โดยคุณจตุพร บำรุงจิตร (โค้ชนุ่ม)


Golden-Abacus-with-Chinese-rmb-gold-coins-as-background/45.jpg


สวัสดีครับ พบกับ “Trade Idea” ที่จะเสนอไอเดีย ความรู้ให้กับนักลงทุนกันครับ สำหรับนักลงทุนมือใหม่หลายๆ ท่าน อาจจะยังแน่ใจว่าลงทุนสไตล์ไหน วันนี้เรามาสำรวจตัวเราดูกันครับ

การลงทุนสไตล์ MI หรือ Momentum Investor

  1. ใช้ข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจเป็นตัวชี้นำ และวางกลยุทธ์การลงทุน เช่น การเติบโตของ GDP ในประเทศ ตัวเลขด้านการส่งออก รายได้ภาคครัวเรือน แนวโน้มอัตราดอกเบี้ย เป็นต้น
  2. ค้นหาอุตสาหกรรมที่โดดเด่นที่เชื่อมโยงกับตัวเลขเศรษฐกิจ หรืออุตสาหกรรมที่โดดเด่นช่วงนั้น โดยธีมการลงทุนสามารถค้นหาข้อมูลได้จากบทวิเคราะห์ หรือข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าเชื่อถือ พอเลือกกลุ่มของอุตสาหกรรมได้แล้วนักลงทุนประเภทนี้ก็จะมาดูผลประกอบการ หรือดูราคาหุ้นของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น
  3. ใช้เครื่องมือวิเคราะห์ทางด้านเทคนิคจับจังหวะในการเข้าซื้อลงทุน ซึ่งการลงทุนสไตล์นี้เป็นการลงทุนระยะสั้น เน้นระยะเวลาการลงทุนไม่นาน ข้อควรระวังการลงทุนสไตล์ MI ควรมีจุดตัดขาดทุน (Cut Loss)

การลงทุนสไตล์ VI หรือ Value Investor

  1. ศึกษาข้อมูลปัจจัยพื้นฐานหุ้น เฟ้นหาบริษั ทที่ความสามารถในการแข่งขัน มีการเติบโตในระยะยาว
  2. ติดตามผลประกอบการในงบการเงิน และรับฟังข้อมูลจากผู้บริหารที่เผยแพร่ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ผ่านช่องทาง”บริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน” หรือ “Opportunity Day” เป็นต้น
  3. เน้นลงทุนในระยะยาว และจะไม่ค่อยหวั่นไหวต่อความผันผวนของตลาดในระยะสั้น แต่จะให้ความหนักแน่นต่อการคัดเลือกธุรกิจ และผลการดำเนินงานของบริษัทเป็นสำคัญ เรามีบุคคลที่ประสบความสำเร็จในสไตล์การลงทุนแบบ VI หรือ ลงทุนหุ้นคุณค่าที่เป็นแบบอย่างในแนวคิด แนวการเลือกลงทุนในหุ้นนั้น ได้แก่ วอเร็น บัฟเฟตต์, จอห์น เนฟฟ์, ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เป็นต้น ซึ่งท่านเหล่านี้ ให้แนวทางการลงทุนสไตล์แบบ VI ที่น่าสนใจ และสามารถประยุกต์ใช้ในการลงทุนหุ้นได้

สุดท้ายนี้ ไม่ว่าท่านจะเลือกเป็นนักลงทุนสไตล์ไหน ขอให้เลือกสไตล์การลงทุนที่เป็นตัวท่านเองตามความชอบ และความถนัดของแต่ละท่านครับ และขอให้ทุกท่านประสบความสำเร็จในการลงทุนครับ แล้วพบกันใหม่ครับ

โดยคุณจตุพร บำรุงจิตร (โค้ชนุ่ม)